คำถาม ประเทศไทยมีผู้ได้รับรางวัลเกียรติยศจากรัสเซีย 3 คน คือใครบ้าง
เฉลย เมื่อวันที่ 18 ก.พ. 54 รัสเซียได้มอบรางวัลเกียรติยศแก่บุคคลสาขาต่างๆซึ่งประเทศไทยมีผู้ได้รับรางวัล 3 คน คือ
1.นายเฉลิมพล ทันจิตต์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก
2. นายอดิเรก ศรีประทักษ์
3. นายเกรียงไกร วุฒิวรกุลชัย
รายชื่อผู้ไ้ด้รับรางวัล
1. ศรัญญา แพประสิทธิ์เวทย์
2. วีระวรรณ พิมชะนก
3. เจริญรัตน์ แท่นทอง
4. วรัชยา จงคล้ายกลาง
5. พลฯ ชนะชัย พลับพลาไชย
28 มีนาคม 2554
16 มีนาคม 2554
วันมวยไทย
มวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้ การป้องกันตัวประจำชาติของไทยที่มีมาช้านาน เป็นการต่อสู้ที่ใช้อวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายเป็นอาวุธในการต่อสู้ มวยไทยจัดได้ว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนื่งซึ่งในอดีตจนถึงปัจจุบันมวยไทยได้เป็นที่นิยมมากทำให้มีการจัดให้มวยไทยนั้นเป็นกีฬาประเภทหนึ่งอีกด้วย
วันมวยไทยหรือวันนักมวย ตรงกับวันที่ 17 มีนาคม ของทุกปี ซึ่งในวันนี้ถือเป็นวันระลึกเหตุการณ์ในอดีตสมัยกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงครั้งที่ 2 ที่นายขนมต้ม นักสู้ของไทยได้ถูกจับเป็นเชลยที่พม่า และ ในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2317 ได้ขึ้นชกมวยต่อหน้าพระที่นั่งพระเจ้ามังระ โดยนายขนมต้มได้ขึ้นชกกับนักมวยพม่าถึง 10คน ทำให้ศิลปะการต่อสู้ การป้องกันตัวของไทยได้เป็นที่รู้จัก และมีชื่อเสียงตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาพร้อมกันนี้นายขนมต้มยังได้รับการยกย่องให้เป็นเสมือน "บิดามวยไทย" อีกด้วย
14 มีนาคม 2554
เหตุการณ์สำคัญ 14 มีนาคม
เหตุการณ์
- พ.ศ. 2189 (ค.ศ. 1647) - สงคราม 30 ปี: มีการลงนามในข้อตกลงพักรบอูล์ม
- พ.ศ. 2336 (ค.ศ. 1794) - เอลี วิทนีย์ ได้รับการรับรองสิทธิบัตรเครื่องปั่นฝ้าย เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ปฏิวัติอุตสาหกรรมผ้าฝ้ายในสหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2494 (ค.ศ. 1951) - สงครามเกาหลี: กองกำลังของสหประชาชาติเข้ายึดครองกรุงโซลเป็นครั้งที่ 2
- พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนอุบลรัตน์
วันเกิด
- พ.ศ. 2346 (ค.ศ. 1804) - โยฮันน์ สเตราส์ บิดา คีตกวีชาวออสเตรีย (ถึงแก่กรรม 25 กันยายน พ.ศ. 2392)
- พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1869) - อัลเจอร์นอน แบล็กวูด นักเขียนชาวอังกฤษ (ถึงแก่กรรม 10 ธันวาคม พ.ศ. 2494)
- พ.ศ. 2421 (ค.ศ. 1879) - อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักฟิสิกส์เชื้อชาติเยอรมัน (ถึงแก่กรรม 18 เมษายน พ.ศ. 2498)
- พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) - สมยศ ทัศนพันธ์ นักร้อง นักแต่งเพลง ชาวไทย (ถึงแก่กรรม 13 ตุลาคม พ.ศ. 2529)
- พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) - ไมเคิล เคน นักแสดงชาวอังกฤษ
- พ.ศ. 2478 (ค.ศ. 1935) - นพดฬ ชาวไร่เงิน นักร้องชาวไทย
- พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) - วูล์ฟกัง ปีเตอร์เซน ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวเยอรมัน
- พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) - วินิตา ดิถียนต์ นักประพันธ์ (นามปากกา แก้วเก้า, ว.วินิจฉัยกุล, รักร้อย, ปารมิตา, วัสสิกา, อักษรานีย์)
- พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) - ไมเคิล นันน์ นักมวยชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - อัฐมา ชีวนิชพันธ์ นักแสดงชาวไทย
- พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - ชุติมา ทีปะนาถ นักแสดงชาวไทย
วันถึงแก่กรรม
- พ.ศ. 2425 (ค.ศ. 1883) - คาร์ล มาร์กซ นักปรัชญาและนักเศรษฐศาสตร์การเมืองชาวเยอรมัน (เกิด 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2361)
- พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) - อิศรา อมันตกุล นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ (เกิด 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2464)
วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล
- วันไวท์เดย์ เป็นวันที่ผู้ชายมอบคุกกี้หรือลูกกวาดให้เป็นของขวัญแก่ผู้หญิงที่ให้ช็อคโกแล็ตแก่ตนในวันวาเลนไทน์
9 มีนาคม 2554
เหตุการณ์สำคัญ 9 มีนาคม
เหตุการณ์
- พ.ศ. 2413 (ค.ศ. 1870) - รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสสิงคโปร์ เป็นการเสด็จต่างประเทศครั้งแรก
- พ.ศ. 2434 (ค.ศ. 1891) - เริ่มสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา
- พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) - กองกำลังสัมพันธมิตรบนเกาะชวายอมจำนนต่อญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) - สงครามโลกครั้งที่สอง: เครื่องบินทิ้งระเบิดของสหรัฐอเมริกา ถล่มเมืองโตเกียวของญี่ปุ่น ทำให้เกิดพายุเพลิง คร่าชีวิตชาวญี่ปุ่นประมาณ 100,000 คน
- พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) - ตุ๊กตาบาร์บี ตุ๊กตาที่มียอดขายสูงที่สุดในโลก เปิดตัวครั้งแรกในงานแสดงตุ๊กตาที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991)
- ประชาชนในกรุงเบลเกรดเดินขบวนครั้งใหญ่ เพื่อต่อต้านสโลโบดัน มิโลเซวิค ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 คน
- เป็นวันเริ่มสร้างพระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ พระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลก
- พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) - ตาลีบันทำลายพระพุทธรูปบามิยันด้วยระเบิดไดนาไมต์
วันเกิด
- พ.ศ. 2458 (ค.ศ. 1916) - ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อดีตผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย สมาชิกขบวนการเสรีไทย และอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะในปี พ.ศ. 2508 (ถึงแก่กรรม 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2542)
- พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1934) - ยูริ กาการิน นักบินอวกาศชาวรัสเซีย (ถึงแก่กรรม 27 มีนาคม พ.ศ. 2511)
- พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) - เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ (เจมส์) นักร้อง, นักแสดงชาวไทย
- พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - คิม แทยอน สมาชิกเกิร์ลกรุ๊ปวง Girls' Generation
วันถึงแก่กรรม
- พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - พระสุจริตสุดา (เปรื่อง สุจริตกุล) พระสนมเอกในรัชกาลที่ 6
6 มีนาคม 2554
8 มีนาคม วันสตรีสากล
ณ เมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา กรรมกรสตรีในโรงงานทอผ้าได้ลุกฮือขึ้นเดินขบวนประท้วงการเอาเปรียบ กดขี่ ขูดรีด ทารุณ จากนายจ้างที่เห็นผลผลิตสำคัญกว่าชีวิตคน ความเป็นอยู่ของแรงงานสตรีในเมืองชิคาโก ว่ากันว่าไม่ต่างอะไรจากทาสนิโกรในเงื้อมมือคนผิวขาว เพราะต้องทำงานวันละ 12-15 ชั่วโมง แต่ได้รับค่าแรงานเพียงน้อยนิดส่วนสตรีตั้งครรภ์มักถูกไล่ออก ในที่สุดภายใต้การนำของ คลาร่า เซทคิน ผู้นำกรรมกรสตรีโรงงานทอผ้าชาวเยอรมันลุกฮือขึ้นสู้ด้วยการเดินขบวนนัดหยุดงานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1907 โดยเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานจากวันละ 12-15 ชั่วโมง ให้เหลือวันละ 8 ชัวโมง พร้อมทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการภายในโรงงาน และให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งด้วย ในการเรียกร้องครั้งนี้ แม้จะมีหลายร้อยคนถูกจับกุม แต่ก็ได้รับการสนับสนุนจากสตรีทั้งโลก และส่งผลให้วิถีการผลิตแบบทุนนิยมเริ่มสั่นคลอน

คลาร่า เซทคิน
คลาร่า เซทคิน
อีก 3 ปีต่อมา คือ ในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1910 ข้อเรียกร้องของเหล่าบรรดากรรมกรสตรีก็ประสบความสำเร็จ เมื่อตัวแทนสตรีจาก 18 ประเทศ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยม ครั้งที่ 2 ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรี โดยให้ลดเวลาทำงานให้เหลือเพียงวันละ 8 ชั่วโมง ศึกษาหาความรู้ 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง และกำหนดให้ค่าแรงงานสตรีเท่าเทียมกับค่าแรงงานชาย อีกทั้งยังมีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็กอีกด้วย นอกจากนั้นในการประชุมครั้งนั้น ยังได้มีการรับรองข้อเสนอของ คลาร่า เซทคิน ด้วยการประกาศให้วันที่ 8 มีนาคม เป็นวันสตรีสากล
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)