เที่ยวล่องท่องไปในอักษร รู้ละครแห่งชีวิตนิรมิตฝันบรรณารักษ์สรรหามากำนัล เชิญทุกท่านสราญใจไปทุกปี

28 มีนาคม 2554

เฉลยหนอนอ้วนชวนตอบเืืดือนมีนาคม

คำถาม  ประเทศไทยมีผู้ได้รับรางวัลเกียรติยศจากรัสเซีย 3 คน คือใครบ้าง
เฉลย เมื่อวันที่ 18 ก.พ. 54 รัสเซียได้มอบรางวัลเกียรติยศแก่บุคคลสาขาต่างๆซึ่งประเทศไทยมีผู้ได้รับรางวัล 3 คน คือ
1.นายเฉลิมพล ทันจิตต์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก
2. นายอดิเรก ศรีประทักษ์
3. นายเกรียงไกร วุฒิวรกุลชัย
รายชื่อผู้ไ้ด้รับรางวัล 
1. ศรัญญา   แพประสิทธิ์เวทย์
2. วีระวรรณ   พิมชะนก
3. เจริญรัตน์   แท่นทอง
4. วรัชยา   จงคล้ายกลาง
5. พลฯ ชนะชัย  พลับพลาไชย

16 มีนาคม 2554

วันมวยไทย

                           
มวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้ การป้องกันตัวประจำชาติของไทยที่มีมาช้านาน เป็นการต่อสู้ที่ใช้อวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายเป็นอาวุธในการต่อสู้ มวยไทยจัดได้ว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนื่งซึ่งในอดีตจนถึงปัจจุบันมวยไทยได้เป็นที่นิยมมากทำให้มีการจัดให้มวยไทยนั้นเป็นกีฬาประเภทหนึ่งอีกด้วย
วันมวยไทยหรือวันนักมวย ตรงกับวันที่ 17 มีนาคม ของทุกปี ซึ่งในวันนี้ถือเป็นวันระลึกเหตุการณ์ในอดีตสมัยกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงครั้งที่ 2 ที่นายขนมต้ม นักสู้ของไทยได้ถูกจับเป็นเชลยที่พม่า และ ในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2317 ได้ขึ้นชกมวยต่อหน้าพระที่นั่งพระเจ้ามังระ โดยนายขนมต้มได้ขึ้นชกกับนักมวยพม่าถึง 10คน ทำให้ศิลปะการต่อสู้ การป้องกันตัวของไทยได้เป็นที่รู้จัก และมีชื่อเสียงตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาพร้อมกันนี้นายขนมต้มยังได้รับการยกย่องให้เป็นเสมือน "บิดามวยไทยอีกด้วย

14 มีนาคม 2554

เหตุการณ์สำคัญ 14 มีนาคม

เหตุการณ์

วันเกิด

วันถึงแก่กรรม

วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล

9 มีนาคม 2554

เหตุการณ์สำคัญ 9 มีนาคม

เหตุการณ์

วันเกิด

วันถึงแก่กรรม

6 มีนาคม 2554

8 มีนาคม วันสตรีสากล

 ณ เมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา กรรมกรสตรีในโรงงานทอผ้าได้ลุกฮือขึ้นเดินขบวนประท้วงการเอาเปรียบ กดขี่ ขูดรีด ทารุณ จากนายจ้างที่เห็นผลผลิตสำคัญกว่าชีวิตคน ความเป็นอยู่ของแรงงานสตรีในเมืองชิคาโก ว่ากันว่าไม่ต่างอะไรจากทาสนิโกรในเงื้อมมือคนผิวขาว เพราะต้องทำงานวันละ 12-15 ชั่วโมง แต่ได้รับค่าแรงานเพียงน้อยนิดส่วนสตรีตั้งครรภ์มักถูกไล่ออก  ในที่สุดภายใต้การนำของ คลาร่า เซทคิน ผู้นำกรรมกรสตรีโรงงานทอผ้าชาวเยอรมันลุกฮือขึ้นสู้ด้วยการเดินขบวนนัดหยุดงานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1907 โดยเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานจากวันละ 12-15 ชั่วโมง ให้เหลือวันละ 8 ชัวโมง พร้อมทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการภายในโรงงาน และให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งด้วย ในการเรียกร้องครั้งนี้ แม้จะมีหลายร้อยคนถูกจับกุม แต่ก็ได้รับการสนับสนุนจากสตรีทั้งโลก และส่งผลให้วิถีการผลิตแบบทุนนิยมเริ่มสั่นคลอน

คลาร่า เซทคิน
           อีก 3 ปีต่อมา คือ ในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1910 ข้อเรียกร้องของเหล่าบรรดากรรมกรสตรีก็ประสบความสำเร็จ เมื่อตัวแทนสตรีจาก 18 ประเทศ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยม ครั้งที่ 2 ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรี โดยให้ลดเวลาทำงานให้เหลือเพียงวันละ 8 ชั่วโมง ศึกษาหาความรู้ 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง และกำหนดให้ค่าแรงงานสตรีเท่าเทียมกับค่าแรงงานชาย อีกทั้งยังมีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็กอีกด้วย  นอกจากนั้นในการประชุมครั้งนั้น ยังได้มีการรับรองข้อเสนอของ คลาร่าซทคิน ด้วยการประกาศให้วันที่ 8 มีนาคม เป็นวันสตรีสากล